กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทยาศาสตร์:     Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa
ชื่อวงศ์:    MUSACEAE
ชื่อสามัญ:    Banana
ชื่อพื้นเมือง:    กล้วยมะลิอ่อง, กล้วยใต้, กล้วยอ่อง, กล้วยตานีอ่อง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    พืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นที่อยู่เหนือดิน รูปร่างกลม กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน
    ใบ    ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
    ดอก    ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง
    ฝัก/ผล    รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล
    เมล็ด    บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
การขยายพันธุ์:    ใช้หน่อปลูก
การดูแลรักษา:   ชอบดินร่วนซุย ค่อนไปทางดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขั
การใช้ประโยชน์:    – รับประทาน
                             – สมุนไพร  
สรรพคุณทางยา:    – ราก แก้ขัดเบา
                             – ต้น ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
                             – ใบ รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
                             – ยางจากใบ ห้ามเลือด สมานแผล
                             – ผล รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
                             – กล้วยน้ำว้าดิบ มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
                             – กล้วยน้ำว้าสุกงอม เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
                             – หัวปลี (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
อ้างอิง :http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2-10438-13.html

ใส่ความเห็น