กะหล่ำปลีแดง

กะหล่ำปลีแดง

6-1

ชื่อวิทยาศาสตร์    Brassica oleraceae var. rubra

ชื่อสามัญ           Red Cabbage

ลักษณะ :

เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้าย กะหล่ำปลีธรรมดา แต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จำนวนมาก ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยวสีแดง หนา และมีนวล ใบเรียงตัว สลับซ้อนกันแน่นหลายชั้น เรียงแน่น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

คุณค่าทางอาหาร :

ด้วยเนื้อผักกรุบกรอบของกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารอินไทบินที่ออกรสขมกว่ากะหล่ำปลีสีขาวธรรมดา แต่สารอินไทบินัวนี้มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี ไต และกระเพาะดีขึ้นนอกจากนี้กะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงช่วยเสริมฮีโมโกลบินให้แก่ร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นตัวการสำคัญที่นำพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ

ในกะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนิน สามารถรักษาโรคกะเพาะอาหารและมีสารกอยโตรเจนที่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก นอกจากนั้นยังพบว่ามีสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้มีการวิจัยพบกะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดปวดแก้นมคัดแม่หลังคลอด

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีแดง

กะหล่ำปลีแดง เป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน(สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยก มาจาก trytophan; กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึง สองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์(Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อ มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอล ละช่วยงับประสาท ทำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสดๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควร กินกะหล่ำปลีสดๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป

กะหล่ำปลีแดง นิยมรับประทานสด เช่น ในสลัด หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหาร ไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร

ใส่ความเห็น